วิธีการรักษาโรคโควิด

แนวทางการรักษาโควิด-19 ใหม่อีกครั้ง ให้เหมาะสมกับสถานการณ์การระบาดในขณะนี้ ถึงแม้จะเป็นแนวทางสำหรับแพทย์ผู้รักษา แต่มีเนื้อหาหลายส่วนที่ประชาชนควรทราบ โดยเฉพาะผู้ป่วยและญาติ ปัจจุบันโควิด-19 ยังไม่มียารักษาเฉพาะ (ยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโควิด-19) แต่จากการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง พบว่า ปัจจัยสำคัญที่ลดความรุนแรงคือ การได้รับยา ‘ฟาวิพิราเวียร์’ เร็วภายใน 4 วันตั้งแต่เริ่มมีอาการ และจากการศึกษาหลายรายงานพบว่า ยาช่วยลดปริมาณไวรัสได้ดี จึงควรให้ยาเร็วก่อนที่ผู้ป่วยจะมีอาการหนัก สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างรอการประสานเตียงหรือแยกตัวที่บ้านควรสังเกตอาการตนเอง หากมีอุปกรณ์วัดระดับออกซิเจนในเลือดก่อน-หลังออกแรง 3 นาทีขึ้นไป จะช่วยให้ติดตามการเปลี่ยนแปลงอาการได้ดีขึ้น

วิธีการรักษาโรคโควิด

เมื่อทราบผลตรวจว่า ติดเชื้อ โควิด19 ควรทำอย่างไร

  • เตรียมเอกสารสำคัญ เช่น บัตรประชาชน เอกสารยืนยันผลตรวจโควิด
  • โทร 1330, 1668, 1669 เพื่อแจ้งเรื่องเข้ารับการรักษา แจ้งรายละเอียดและเบอร์โทรศัพท์ของตนให้หน่วยงานที่รับเรื่อง
  • งดออกจากที่พักหรือเดินทางข้ามจังหวัด (ฝ่าฝืนมีโทษผิดพ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 มาตรา 34)
  • หากมีไข้ให้รับประทานยาพาราเซตามอลและเช็ดตัวเพื่อลดไข้
  • สวมใส่แมสก์ตลอดเวลาและแยกของใช้ส่วนตัว

ผู้ป่วย 4 กลุ่มตามระดับความรุนแรง

เมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโควิด-19 แล้ว จะต้องแยกตัวที่โรงพยาบาลหรือสถานที่ที่รัฐจัดให้ (โรงพยาบาลสนาม / Hospital ส่วนการแยกตัวที่บ้านยังไม่ได้พูดถึง) อย่างน้อย 14 วันนับจากวันเริ่มมีอาการหรือวันตรวจพบเชื้อหากไม่มีอาการ ส่วนการรักษา แพทย์จะแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 4 กลุ่มตามระดับความรุนแรง คือ

  • ไม่มีอาการ
  • อาการไม่รุนแรง และไม่มีโรคประจำตัว
  • อาการไม่รุนแรง แต่มีโรคประจำตัว* หรือผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบเล็กน้อย (อาการคือหายใจเร็ว หายใจเหนื่อย)
  • อาการรุนแรง ผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ มีภาวะลดลงของออกซิเจน ≥ 3% หรือมีอาการแย่ลง

ผู้ป่วย 2 กลุ่มหลังจำเป็นต้องได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) เป็นระยะเวลา 5-10 วันขึ้นอยู่กับอาการ และยาลดการอักเสบคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ส่วน 2 กลุ่มแรก รักษาตามดุลพินิจของแพทย์ โดยจะเป็นการรักษาตามอาการ ไม่ต้องรับประทานยาต้านไวรัส เพราะส่วนมากหายได้เอง แต่แพทย์อาจพิจารณาจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ก็ได้

อาการของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (ระลอกใหม่)

  • ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 จะแสดงอาการตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อยไปถึงระดับความรุนแรงมาก
  • มีไข้ (ไข้สูงติดต่อกัน 48 ชั่วโมง)
  • ไอแห้ง
  • ไอมีเสมหะ
  • ไม่มีเรี่ยวแรง หอบเหนื่อย
  • หายใจลำบาก
  • เจ็บคอ
  • ปวดหัว
  • จมูกไม่ได้กลิ่น
  • อ่อนเพลีย

อาการทางผิวหนัง

  • มีผื่นแดงลักษณะคล้ายตาข่ายหรือเส้นใยเล็กๆ
  • มีจุดเลือดออก
  • มีผื่นบวมแดงคล้ายโรคลมพิษ
  • บางรายมีลักษณะกลุ่มของตุ่มน้ำคล้ายโรคสุกใส
  • เกิดอาการฉับพลัน ร่วมกับอาการมีไข้ ไอ จาม และระบบทางเดินหายใจอื่นๆ
  • สายพันธุ์ระลอกใหม่ ส่งตรงจากอังกฤษ

กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19

  • เด็กเล็ก (แต่อาจไม่พบอาการรุนแรงเท่าผู้สูงอายุ)
  • ผู้สูงอายุ
  • คนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง
  • คนที่ภูมิคุ้มกันผิดปกติ หรือกินยากดภูมิต้านทานโรคอยู่
  • คนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานมาก (คนอ้วนมาก)
  • ผู้ที่เดินทางไปในประเทศเสี่ยงติดเชื้อ เช่น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อิตาลี อิหร่าน ฯลฯ
  • ผู้ที่ต้องทำงาน หรือรักษาผู้ป่วย ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 อย่างใกล้ชิด
  • ผู้ที่ทำอาชีพที่ต้องพบปะชาวต่างชาติจำนวนมาก เช่น คนขับแท็กซี่ เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล ลูกเรือสายการบินต่าง ๆ เป็นต้น

ข้อปฏิบัติ ขณะรอรถมารับไปโรงพยาบาล

ทั้งนี้ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แนะ 11 วิธีดูแลตัวเองอยู่บ้าน เมื่อติดโควิด 19 ก่อนเข้า รพ. ในกรณีที่จำเป็นต้องดูแลตัวเองท่าน ในขณะที่รอการรับการรักษาที่ รพ. ได้แก่

  • กักตัวในห้องแยกจากผู้อื่น ไม่อยู่กับใคร ในห้องแอร์ หากจะเป็นต้องอยู่ห้องกับใครให้เปิดหน้าต่างไว้ให้อากาศถ่ายเท
  • สวมหน้ากากอนามัย ตลอดเวลาที่ออกมานอกห้องหรือต้องเข้าใกล้ผู้อื่น
  • แยกของใช้ อุปกรณ์รับประทานอาหาร และแก้วน้ำ ไม่รับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
  • แยกขยะ แยกการใช้ห้องน้ำ (ถ้าแยกไม่ได้ ใช้เป็นคนสุดท้ายและล้างห้องน้ำหลังใช้ทุกครั้ง)
  • ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือถูกมือด้วยเจลแอลกอฮอล์เป็นประจำ โดยเฉพาะหลังขับถ่าย
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่สุด สะอาด ตามหลักโภชนาการ ทานผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง
  • ทำจิตใจให้สบาย ลดวิตกกังวล
  • สั่งสินค้า Delivery มาอย่าลืมใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อยๆ
  • เมื่อใช้ลิฟต์ พกปากกา ไม้ลูกชิ้น เป็นที่กดลิฟต์ ไม่ยืนพิงลิฟต์หรือสัมผัสลิฟต์
  • หากมีอาการป่วย เกิดขึ้นใหม่ หรืออาการเดิมมากขึ้น เช่น ไข้สูง ไอมาก เหนื่อย แน่นหน้าอก หอบ หายใจไม่สะดวก เบื่ออาหาร ให้ติดต่อสายด่วน 1669 , 1668 , หรือโหลดแอปฯ EMS 1669 เพื่อกดเรียกรถพยาบาลกรณีฉุกเฉิน

ยาที่ใช้ในการรักษา

ปัจจุบันโควิด-19 ยังไม่มียารักษาเฉพาะ (ยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโควิด-19) แต่จากการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังของผู้ป่วย 744 ราย พบว่า ปัจจัยสำคัญที่ลดความรุนแรงคือ การได้รับยาฟาวิพิราเวียร์เร็วภายใน 4 วันตั้งแต่เริ่มมีอาการ และจากการศึกษาหลายรายงานพบว่า ยาช่วยลดปริมาณไวรัสได้ดี จึงควรให้ยาเร็วก่อนที่ผู้ป่วยจะมีอาการหนัก

ผู้ป่วยกลุ่มที่ 4 แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัสโลปินาเวียร์และริโทนาเวียร์ (Lopinavir / ritonavir) เพิ่มเติม ซึ่งเป็นยาต้านไวรัส HIV ส่วนยาคลอโรควิน (Chloroquine) ไฮดรอกซีคลอโรควิน (Hydroxychloroquine) ซึ่งเป็นยารักษามาลาเรีย (และอดีตประธานาธิบดีทรัมป์เคยพูดถึง) และยาฆ่าเชื้ออีกชนิด กรมการแพทย์ไม่แนะนำให้ใช้แล้ว

WordPress › ผิดพลาด

เกิดข้อผิดพลาดร้ายแรงบนเว็บไซต์นี้

Learn more about troubleshooting WordPress.