กระดูกสะโพกหักใช้เวลา กี่เดือน

กระดูกสะโพกหักเป็นภาวะที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และเป็นกระดูกหักที่รุนแรงโดยพบมีอัตราการเสียชีวิตมากถึง 20-35 % ต่อ 1 ปี ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากอุบัติติเหตุภายในบ้านเช่น การลื่นล้มในห้องน้ำ ลื่นตกจากเก้าอี้ ตกจากเตียง และกระดูกสะโพกหักพบได้น้อยในคนอายุน้อยกว่า 50 ปี สาเหตุที่พบในอายุน้อยมักจะเป็นอุบัติเหตุที่รุนแรง เช่น อุบัติเหตุทางรถ การตกจากที่สูง แต่ที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุก็คือผู้สูงอายุมีกระดูกที่บาง กระดูกพรุนจึงพบว่ากระดูกหักบริเวณนี้สูงมาก

กระดูกสะโพกหักใช้เวลา กี่เดือน

ปัจจัยเสี่ยงของกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ

  • อายุที่มากขึ้นเนื่องจากว่ามีภาวะกระดูกบาง กระดูกพรุนและยังมีปัญหาเรื่องสายตา การทรงตัว ทำให้มีโอกาสหกล้มง่ายขึ้น
  • มีโรคประจำตัวโรคเรื้อรังต่าง ๆ
  • ภาวะโภชนาการที่ไม่ดี ขาดสารอาหาร ขาดแคลเซียมทำให้กระดูกไม่แข็งแรง
  • ขาดการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ
  • กินยาบางชนิดเป็นประจำ เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาหม้อ ยาลูกกลอน
  • คนที่ดื่มเหล้า สูบบุหรี่
  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงจะพบกระดูกสะโพกหักมากกว่าผู้ชาย

อาการของกระดูกสะโพกหัก

  • ปวดที่สะโพกมาก
  • ลงน้ำหนักที่ขาหรือยืนไม่ได้
  • บริเวณสะโพกจะรู้สึกขัด ๆ มีรอยช้ำ และบวม
  • ขาข้างที่สะโพกหักจะสั้น ไม่อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ขาจะหมุนเข้าหรือออก

การรักษากระดูกสะโพกหัก

กระดูกสะโพกหักใช้เวลา กี่เดือน การรักษากระดูกสะโพกหักโดยการผ่าตัดจะใช้เวลาในการรักษาเป็นเวลา 4 เดือน หรือ 12 สัปดาห์หรือจนกว่าแผลจะหายดี แต่ส่วนมากแล้วผู้ป่วยมักจะเดินได้ก่อนจะถึง 12 สัปดาห์เพราะกระดูกของคนที่มีอายุน้อยจะเข้าที่ได้เร็วกว่าคนที่มีอายุมาก

การรักษากระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ

กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุจัดเป็นภาวะที่มีความรุนแรงและก็มีภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายหากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม จากรายงานการศึกษาพบมีอัตราการเสียชีวิตภายในปีแรกสูงถึง 35% กระดูกหักบริเวณนี้ส่วนใหญ่จะต้องรักษาโดยการผ่าตัด การรักษาโดยการไม่ผ่าตัดจะมีผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะเดินได้ปกติและกลับไปใช้ชีวิตประจำวันอย่างปกติน้อยมากและมักทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่พบตามมาได้เนื่องจากผู้ป่วยจะต้องนอนเฉย ๆ อยู่บนเตียงเป็นเวลานานไม่สามารถที่จะลุกไปไหนได้ เช่น ปัญหาแผลกดทับในที่ต่าง ๆ เสี่ยงต่อการติดเชื้อแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ติดเชื้อที่ปอด เป็นต้น

การป้องกันกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ

  • กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุสามารถป้องกันได้ โดยการป้องกันและรักษาภาวะกระดูกพรุน ดังต่อไปนี้
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและต้องเป็นการออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนัก เช่น การเดินให้ได้ครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ น้ำเต้าหู้ นม ผักใบเขียว ปลาเล็กปลาน้อยที่กินได้ทั้งกระดูก
  • ได้รับวิตามินดีที่เพียงพอ โดยการออกกำลังกายกลางแจ้งขณะมีแสงแดดอ่อน ๆ จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามินดีมากขึ้น
  • งดบุหรี่ และการดื่มสุราเพราะทำให้มวลกระดูกลดลง
  • หลีกเลี่ยงยาที่กินต่อเนื่องจะทำให้มวลกระดูกลดลง อย่างเช่น สเตียรอยด์หากไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ยากลุ่มนี้มักผสมในยาหม้อ ยาลูกกลอน
  • ไม่ควรดื่มชา กาแฟมากกว่าวันละ 2 แก้วเพราะคาเฟอีนจะเร่งการขับแคลเซียม
  • ในผู้สูงอายุโดยเฉพาะหญิงวัยหมดประจำเดือน ควรจะได้รับการตรวจความหนาแน่นของกระดูกและรักษาถ้าตรวจพบว่ามีกระดูกบาง กระดูกพรุน
  • จัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการหกล้ม เช่น จะต้องมีแสงสว่างเพียงพอ ไม่มีบริเวณที่ลื่น หรือพื้นต่างระดับที่ทำให้สะดุดได้ ไม่วางของระเกะระกะตามพื้น

การทำกายภาพบำบัดฝึกเดิน ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดกระดูกสะโพกหัก

การทำกายภาพบำบัดเป็นเรื่องสำคัญยิ่งภายหลังการผ่าตัด เพราะจะมีผลให้ ร่างกายของคนไข้รู้สึกตัวเร็ว ช่วยตัวเองได้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นการป้องกัน การเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ หลังจากการผ่าตัด นักกายภาพบำบัดก็จะเตรียมพร้อม ที่จะฟื้นฟูบำบัดผู้ป่วย โดยจะเริ่มจากการค่อย ๆ ออกกำลังข้อสะโพก อย่างค่อยเป็นค่อยไป จากนั้นก็จะให้ผู้ป่วย เริ่มใช้ไม้ค้ำยัน ไม้เท้า หรือเครื่องช่วยเดินอื่น ๆ คนไข้แต่ละท่านจะมีอาการแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นนักกายภาพบำบัดจะตรวจ และให้การรักษาอย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละราย และการบำบัดผู้ป่วยจะต้องหมั่นทำทกวันเพราะการบำบัดจะทำให้ผู้ป่วยสามารถเดินได้เร็วขึ้น

WordPress › ผิดพลาด

เกิดข้อผิดพลาดร้ายแรงบนเว็บไซต์นี้

Learn more about troubleshooting WordPress.