Piriformis Syndrome หรือกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบอักเสบเส้นประสาท เป็นความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เกิดจากกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสบริเวณก้นใกล้กับสะโพกไปกดทับเส้นประสาทไซอาติกที่อยู่ใกล้กัน ส่งผลให้รู้สึกปวดบริเวณก้นร้าวไปยังขา หากมีอาการรุนแรงมาก กล้ามเนื้อสะโพกอักเสบเรื้อรัง จนบีบเส้นประสาท อาจส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการนั่ง เช่น นั่งทำงาน หรือขับรถ เป็นต้น
อาการของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
โรคกล้ามเนื้อหนีบเส้นประสาทจะมีอาการปวดร้าวและชา ไปตามแขนหรือขา อาการคล้ายกับโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดกระดูกสันหลังยังแยกสองโรคออกได้ไม่ 100% ถ้าซักประวัติละเอียดจะพบว่า ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อนี้จะมีอาการปวดบริเวณสะโพกนำมาก่อน และค่อย ๆ ลามลงขาไปจนถึงปลายเท้า หรือปวดบริเวณคอหัวไหล่ แล้วค่อย ๆ ลามไปถึงปลายแขน อาการรุนแรงกว่าโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเสียอีก
- ปวดและชาที่ก้นร้าวไปยังขาทั้ง 2 ข้าง
- รู้สึกเจ็บเมื่อใช้มือกดบริเวณก้น
- ปวดหลังช่วงล่าง
บางรายจะปวดมากจนนอนไม่หลับ เวลาเปลี่ยนอิริยาบถเริ่มเดินแรก ๆ มักจะปวดสะโพกลงขา แต่พบเดิน ๆ ไประยะทางหนึ่งจะค่อย ๆ หายปวดขา ถ้าเป็นที่กล้ามเนื้อต้นคอ เวลาขยับกล้ามเนื้อคอจะมีอาการปวดเสียวอย่างแรงเหมือนไฟฟ้าช็อตที่แขน อาการนี้คล้ายกับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดมากขึ้นเมื่อต้องนั่งเป็นเวลานานหรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวลำตัวส่วนล่าง เช่น วิ่ง หรือขึ้นบันได เป็นต้น หากมีอาการรุนแรงมากก็อาจทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตตามปกติได้
หากความรู้สึกปวดและชาบริเวณก้นหรือขาไม่ดีขึ้นใน 2-3 สัปดาห์ หรืออาการปวดเกิดขึ้นเป็นระยะโดยไม่หายไป ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง
สาเหตุของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
โดยปกติ กลุ่มอาการนี้มักเกิดจากการอักเสบ การบาดเจ็บ การเกิดแผลเป็น หรือภาวะเลือดออกที่กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส อันเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้
- เคลื่อนไหวร่างกายส่วนล่างผิดท่า
- ออกกำลังกายมากเกินไป วิ่งหรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวขาอย่างต่อเนื่อง
- นั่งเป็นเวลานาน
- ยกของหนัก
- เกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายส่วนล่าง เช่น ลื่นล้ม ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ เป็นต้น
การรักษากลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงนักรักษาตัวเองแบบประคับประคองจนอาการหายไปเอง โดยผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่อาจกระตุ้นให้อาการปวดกำเริบ
- ประคบเย็นและประคบร้อนบริเวณก้นและขาทุก 2-3 ชั่วโมง โดยขั้นแรกให้ห่อเจลเก็บความเย็นด้วยผ้าแล้วประคบบริเวณที่ปวด 15-20 นาที จากนั้นจึงใช้ถุงเก็บความร้อนประคบต่อ 15-20 นาที
- รับประทานยาแก้ปวด เช่น ไอบูโพรเฟน นาพรอกเซน เป็นต้น
- การใช้ยารักษา ฉีดยาที่มีฤทธิ์ช่วยให้กล้ามเนื้อชา หรือยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ
- การกระตุ้นเส้นประสาท กระตุ้นเส้นประสาทผ่านทางผิวหนังเพื่อลดความเจ็บปวด (Transcutaneous Electrical Nerve Stimulator) หรือ TENS โดยใช้กระแสไฟฟ้ารบกวนการทำงานของสัญญาณในสมองที่กระตุ้นให้รู้สึกเจ็บปวด ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดน้อยลง
- การผ่าตัด บางกรณีแพทย์อาจต้องผ่าตัดเพื่อแก้ไขการกดทับที่เส้นประสาท
ภาวะแทรกซ้อนของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
โดยปกติ อาการปวดที่เกิดขึ้นจะค่อย ๆ หายไปได้เองโดยไม่ต้องเข้ารับการรักษา แต่ก็มีความเสี่ยงที่กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสจะกดทับเส้นประสาทไซอาติกและสร้างความเสียหายแก่เส้นประสาทอย่างถาวรได้ ดังนั้น หากมีอาการรุนแรงดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
- ขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างสูญเสียความรู้สึกหรือไม่มีแรง
- ไม่สามารถควบคุมการถ่ายปัสสาวะของตัวเองได้
- การป้องกันกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
แม้สาเหตุหนึ่งของ Piriformis Syndrome คือ การออกกำลังกายผิดวิธี แต่ในทางตรงกันข้าม การออกกำลังกายด้วยท่าทางที่ถูกต้องในระยะเวลาที่เหมาะสมอาจส่งผลดีต่อร่างกายและช่วยป้องกันกลุ่มอาการนี้ได้เช่นกัน ซึ่งอาจทำได้ ดังนี้
- อบอุ่นร่างกายและยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง
- เพิ่มระดับการออกกำลังกายเพียงทีละน้อย
- หลีกเลี่ยงการวิ่งบนทางลาดชันหรือพื้นผิวที่ขรุขระ
- หลีกเลี่ยงการนั่งหรือนอนในท่าเดิมเป็นเวลานาน
อ่านต่อที่ Rattinan