การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อสะโพก เป็นอย่างไรบ้าง

การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อสะโพก เพื่อให้ยาถูกดูดซึมค่อนข้างเร็วและคงฤทธิ์อยู่ได้นาน ซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งของกล้ามเนื้อที่ฉีด ลักษณะยาที่ฉีดส่วนใหญ่เป็นยาที่ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อชั้นใต้ผิวหนังยาที่มีส่วนผสมของน้ำมันยาที่มีความเข้มเข้มสูงเช่นยาปฏิชีวนะเนื่องจากกล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่กว่าเนื้อเยื่อชั้นใต้ผิวหนังมีปลายประสาทรับความรู้สึกน้อยกว่ามีหลอดเลือดมาเลี้ยงจำนวนมากกว่าปริมาณยาที่ฉีดให้ได้แต่ละครั้งจึงให้ได้มากกว่าทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดน้อยกว่าและมีการดูดซึมยาได้เร็วกว่าการฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง

ปวดกล้ามเนื้อสะโพก

การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular injection)

ตำแหน่งของกล้ามเนื้อที่ใช้ฉีดยาได้มีหลายแห่ง ได้แก่ กล้ามเนื้อโคนขาด้านข้าง (Vastas lateralis muscles of thigh) การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อสะโพกและกล้ามเนื้อต้นแขน (deltoid muscles) ตำแหน่งกล้ามเนื้อโคนขาด้านข้างเหมาะสำหรับใช้ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อในเด็กเล็ก เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณสะโพกและกล้ามเนื้อต้นแขนมีน้อย กล้ามเนื้อบริเวณโคนขามีเนื้อที่ให้ฉีดมาก ไม่มีเส้นประสาทหรือหลอดเลือดใหญ่ในบริเวณนี้และสามารถฉีดยาได้หลายท่า ทั้งท่านั่ง นอนคว่ำ นอนหงาย และท่ายืน ตำแหน่งที่ใช้ฉีดอยู่ทางด้านนอกของต้นขาระหว่าง greater trochanter ของกระดูก femur กับ lateral femoral condyle โดยลากเส้นแบ่งเนื้อที่บริเวณหน้าขาออกเป็น 3 ส่วนตามแนวขวาง และ 3 ส่วนตามแนวตั้ง บริเวณที่ใช้ฉีดคือส่วน 1/3 ตรงกลางทางด้านนอก

วิธีการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular injection)

การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ ยาจะถูกดูดซึมเร็วเพราะมีเลือดมาเลี้ยงมาก แต่อาจจะเกิดอันตรายต่อเส้นประสาทหรือฉีด เข้าหลอดเลือดได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อเป็นเนื้อเยื่อที่ทนต่อการระคายเคืองได้ดี ยาที่มีความเหนียวข้น และระคายเคือง ต่อเนื้อเยื่อ หรือมีส่วนผสมของน้ำมันก็สามารถฉีดเข้ากล้ามเนื้อได้

  1. วิธีหาบริเวณฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อสะโพก (Glutens muscle)

วิธีที่ 1 แบ่งสะโพกออกเป็น 3 ส่วน

ใช้ landmark 2 แท่ง คือ anterior superior iliac spine และ coccyx ลากเส้นสมมุติระหว่าง 2 จุด แบ่งเส้นสมมุติออกเป็น 3 ส่วน

เท่า ๆ กัน ตำแหน่งที่ฉีดยาได้คือส่วนแรกนับจาก anterior superior iliac spine โดยฉีดต่ำกว่าระดับของ iliac crest ประมาณ 2-3 นิ้วมือ

วิธีที่ 2 แบ่งสะโพกออกเป็น 4 ส่วน โดยมีขอบเขตดังนี้

– ด้านบน มีขอบเขตตามแนวของ iliac crest

– ด้านล่าง มีขอบเขตตามแนวของก้นย้อย (glutealfold)

– ด้านใน (medial) มีขอบเขตตามแนวแบ่งครึ่งจากกระดูก Coccyx ขึ้นไปตามแนวแบ่งครึ่งของกระดูก sacrum

– ด้านนอก (lateral) มีขอบเขตตามแนวด้านข้างของต้นขาและสะโพก

. ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะฉีดยาด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% โดยหมุนออกจากจุดที่จะแทงเข็มให้เป็นวงกว้างประมาณ 2-3 นิ้ว

ปล่อยให้แอลกอฮอล์แห้ง

  1. ถอดปลายเข็มออก จับกระบอกฉีดยาตั้งขึ้น ไล่อากาศโดยให้เหลืออากาศไว้ 0.2-0.3 cc.
  2. ดึงกระบอกฉีดยาด้วยมือข้างถนัด ส่วนมือข้างไม่ถนัดทำผิวหนังบริเวณฉีดยาให้ตึง โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กางออกขณะกดลงบนผิวหนัง
  3. แทงเข็มด้วยความเร็วและมั่นคง แทงเข็มทำมุม 90 องศา
  4. ยึดหัวเข็มและกระบอกฉีดยาให้มั่นคง (ไม่โยกไปมา และไม่เลื่อนขึ้นลง) ด้วยมือข้างถนัด และใช้มือข้างถนัดดึงลูกสูบขึ้นเล็กน้อย เพื่อทดสอบว่าปลายเข็มอยู่ในหลอดเลือดหรือไม่
  5. ถ้าไม่มีเลือดเข้ามาในกระบอกฉีดยา ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือข้างถนัดดันลูกสูบเดินยาช้า ๆ (ถ้ามีเลือดเข้ามาในกระบอกฉีดให้ยกเลิกการฉีดยานั้นและเตรียมยาฉีดใหม่)
  6. เมื่อยาหมดแล้วให้ใช้สำลีกดตำแหน่งแทงเข็ม ขณะที่ถอนเข็มออกด้วยความรวดเร็ว
  7. คลึงบริเวณฉีดยาเบา ๆ เพื่อช่วยให้ยาดูดซึมได้เร็วขึ้นและลดอาการเจ็บปวดได้ด้วย (ยกเว้นยาที่มีส่วนประกอบของโลหะหนัก)
  8. ปลดเข็มออกจากกระบอกฉีดยา แยกเข็มฉีดยาทิ้งในชามรูปไต หรือภาชนะสำหรับทิ้งเข็มโดยเฉพาะเพื่อนำไปทำลายเข็มต่อไป
  9. จัดเสื้อผ้าผู้ป่วยให้เรียบร้อย และขัดให้อยู่ในท่าที่สบาย (ถ้าเป็นผู้ป่วยนอก ควรให้ผู้ป่วยพักเพื่อสังเกตอาการประมาณ 15 นาที
  10. ล้างมือให้สะอาด

หมายเหตุ : จำนวนยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะโพก หรือหน้าขาแต่ละครั้งได้ไม่เกิน 5 cc. ถ้าฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นแขน ฉีดครั้งหนึ่งไม่เกิน 2 cc.

ผลข้างเคียงหลังการใช้วิธีฉีดยาแบบวิธีเข้ากล้ามเนื้อ

  1. การปวดกล้ามเนื้อบริเวณที่ฉีด ซึ่งเกิดได้เป็นปกติปลายเข็มอาจแทงไปโดนหลอดเลือด ทำให้มีเลือดไหลออกมามากผิดปกติ หรือฉีดยาไปเข้าเส้นเลือดโดยตรง แก้ไขได้โดยก่อนจะฉีดยานั้นให้ทำการดึงก่อนว่าไม่ได้เลือด
  2. ปลายเข็มอาจแทงไปโดนปลายเส้นประสาท ทำให้ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บเสียวไปตามแนวเส้นประสาทนั้น ๆ หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวให้รีบถอนเข็มออกทันที
  3. อาจเกิดเลือดออกไม่หยุดอยู่ภายใต้ชั้นกล้ามเนื้อ กรณีผู้ป่วยมีโรคเลือด หรือรับประทานยาที่ต้านการแข็งตัวของเลือดอยู่เช่นยาวาร์ฟาริน

ก่อนจะฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อทุกครั้ง ควรตรวจสอบทุกครั้งว่าผู้ป่วยไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นข้อห้ามและควรฉีดในตำแหน่งกล้ามเนื้อที่แนะนำเช่นต้นแขน ก้น กล้ามเนื้อสะโพกเท่านั้นฟ

WordPress › ผิดพลาด

เกิดข้อผิดพลาดร้ายแรงบนเว็บไซต์นี้

Learn more about troubleshooting WordPress.