อาการและหาเหตุปวดกล้ามเนื้อสะโพกทับเส้นประสาท

หลายคนกำลังเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อสะโพก ทำให้มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก หากมีอาการดังกล่าวควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้ความรุนแรงเพิ่มขึ้นได้ หรือควรศึกษาหาข้อมูล เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาต่อไป

ปวดกล้ามเนื้อสะโพก

สาเหตุของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

โดยปกติ กลุ่มอาการนี้มักเกิดจากการอักเสบ การบาดเจ็บ การเกิดแผลเป็น หรือภาวะเลือดออกที่กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส อันเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้

  1. เคลื่อนไหวร่างกายส่วนล่างผิดท่า
  2. ออกกำลังกายมากเกินไป
  3. วิ่งหรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวขาอย่างต่อเนื่อง
  4. นั่งเป็นเวลานาน
  5. ยกของหนัก
  6. เกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายส่วนล่าง เช่น ลื่นล้ม ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ เป็นต้น

อาการของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

พิริฟอร์มิส คือ กล้ามเนื้อที่อยู่ภายในก้นใกล้กับสะโพก มีหน้าที่รักษาสมดุลของสะโพกและช่วยให้ต้นขาเคลื่อนไหวไปยังทิศทางต่าง ๆ ได้ จึงจำเป็นต่อการรักษาสมดุลของร่างกายและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องใช้ลำตัวส่วนล่าง หากกล้ามกล้ามเนื้อชนิดนี้ไปกดทับเส้นประสาทไซอาติก ซึ่งเป็นเส้นประสาทขนาดใหญ่ที่พาดผ่านขาทั้ง 2 ข้าง อาจส่งผลให้เกิดอาการ ดังต่อไปนี้ปวดและชาที่ก้นร้าวไปยังขาทั้ง 2 ข้าง รู้สึกเจ็บเมื่อใช้มือกดบริเวณก้น  ปวดหลังช่วงล่าง

บทความแนะนำ ตัดหนังหน้าท้อง จากเว็บไซต์ Rattinan.com

การรักษา

  1. Stretching

เริ่มจากการยืดเหยียดกล้ามเนื้อสะโพกมัดลึก piriformisโดยการยืดเหยียดจะต้องยืดให้สุดความยาวกล้ามเนื้อและถูกท่า การยืดทุกครั้งจะต้องยืดให้สุดและค้างไว้นับ1-10 จากนั้นกลับมาท่าเดิมทำซ้ำครบ10ครั้ง แล้วจึงสลับไปยืดอีกข้าง ทำเช้าเย็น และระหว่างวันตามเหมาะสม

  1. Ice and hot compression

การประคบร้อนหรือประคบเย็นเพื่อลดปวด

ประคบเย็นในกรณีเกิดการบาดเจ็บเช่น เจ็บกล้ามเนื้อก้นหรือสะโพกหลังออกกำลังกายหรือจากอุบัติเหตุ ภายใน24 ชม.

ประคบร้อนเพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตและผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณนั้น กล้ามเนื้อpiriformis เป็นกล้ามเนื้อมัดลึกและบริเวณก้นก็มีชั้นไขมันและกล้ามเนื้อGluteus maximus ปกคลุม ดังนั้นความร้อนจากการประคบร้อนไม่สามารถเข้าถึงได้หรือเข้าถึงได้น้อย

  1. Meet doctor

ในกรณีที่การรักษาเบื้องต้นไม่ดีขึ้นแนะนำพบแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูหรือนักกายภาพ เพื่อการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง

  1. Diagnosis and plan of treatment

การรักษาด้วยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู. การใช้เทคนิคการปักเข็ม (Dry needling or weatern acupunctue) หรือการฉีดยาลดการอักเสบ(low dose steroid injection) การฉีดยาแก้อักเสบกล้ามเนื้อ(NSAIDs) หรือเทคนิคอื่น ๆ

  1. Physical modality

การรักษาด้วยเครื่องมือทางกายภาพ ได้แก่ high intensity laser therapy , Shockwave therapy or TR therapy etc.

  1. Therapeutic massage or deep tissue massage

การนวดด้วยเทคนิคเฉพาะด้วยผู้ชำนาญการ พยาบาล นักกายภาพ

  1. Correct posture

ปรับท่าทางที่ทำให้เกิดอาการหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น มักมีอาการเวลาขับรถ แนะนำให้ปรับตำแหน่งเบาะรถอาจจะเป็นความสูงเบาะหรือความใกล้ไกลของเบาะ. มาจากการนั่งทำงานเก้าอี้ที่ไม่เหมาะสม บางครั้งมาจากรองเท้าที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อ

  1. Trigger point compression or massage by yourself

การกดจุดหรือยืดกล้ามเนื้อด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆเช่น tennis ball or foam roller

  1. Muscle strengthening

บริหารกล้ามเนื้อรอบสะโพก ต้นขาและกล้ามเนื้อหน้าท้องมัดลึก

  1. Cause

หาสาเหตุที่แท้จริง ข้อนี้สำคัญที่สุดและถ้าทำได้แก้ต้นเหตุได้จะสามารถรักษาหายอย่างแท้จริง

ภาวะแทรกซ้อนของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

โดยปกติ อาการปวดที่เกิดขึ้นจะค่อย ๆ หายไปได้เองโดยไม่ต้องเข้ารับการรักษา แต่ก็มีความเสี่ยงที่กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสจะกดทับเส้นประสาทไซอาติกและสร้างความเสียหายแก่เส้นประสาทอย่างถาวรได้ ดังนั้น หากมีอาการรุนแรงดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

  • ขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างสูญเสียความรู้สึกหรือไม่มีแรง
  • ไม่สามารถควบคุมการถ่ายปัสสาวะของตัวเองได้
  • การป้องกันกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

แม้สาเหตุหนึ่งของ Piriformis Syndrome คือ การออกกำลังกายผิดวิธี แต่ในทางตรงกันข้าม การออกกำลังกายด้วยท่าทางที่ถูกต้องในระยะเวลาที่เหมาะสมอาจส่งผลดีต่อร่างกายและช่วยป้องกันกลุ่มอาการนี้ได้เช่นกัน ซึ่งอาจทำได้ ดังนี้

  • อบอุ่นร่างกายและยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง
  • เพิ่มระดับการออกกำลังกายเพียงทีละน้อย
  • หลีกเลี่ยงการวิ่งบนทางลาดชันหรือพื้นผิวที่ขรุขระ
  • หลีกเลี่ยงการนั่งหรือนอนในท่าเดิมเป็นเวลานาน

ผู้ที่เคยเป็น Piriformis Syndrome มาก่อน ควรออกกำลังกายหรือยืดกล้ามเนื้อตามที่แพทย์แนะนำเป็นประจำ เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

WordPress › ผิดพลาด

เกิดข้อผิดพลาดร้ายแรงบนเว็บไซต์นี้

Learn more about troubleshooting WordPress.