การเตีรยมตัวเพื่อเสริมสะโพกรีวิว

การเสริมสะโพก เป็นการผ่าตัดศัลยกรรมที่ช่วยเสริมขนาดของสะโพกให้โตขึ้น ทำให้สะโพกมีความสวยงาม ช่วยเสริมให้รูปร่างดูดี เลือกสวมเสื้อผ้าได้หลากหลาย สร้างความมั่นใจมากขึ้น ในปัจจุบันการทำศัลยกรรมเสริมขนาดสะโพกด้วยซิลิโคนเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากว่าการศัลยกรรมมีความปลอดภัยมากขึ้น การเสริมขนาดสะโพกในสมัยก่อนนั้นส่วนใหญ่มักจะไปใช้วิธีการฉีดซิลิโคนเหลว ซึ่งเกิดผลข้างเคียงหลายอย่างตามมาเพราะเป็นสารแปลกปลอม เกิดเป็นก้อนพังผืด สะโพกบิดเบี้ยว ผิดรูป ซิลิโคนมีการไหลไปยังส่วนต่าง ๆ หรือย้อยลงเหมือนคนมีอายุ เนื่องจากซิลิโคนเหลวจะคงสภาพอยู่ได้ไม่นาน การผ่าตัดรักษาก็เป็นไปได้ยากที่จะแก้ไข และทำให้สะโพกนั้นกลับมาสวยเหมือนเดิม การเสริมสะโพกรีวิวสามารถดูได้จากคลินิกที่เสริมสะโพก เพราะทางคลินิกเขาจะมีรีวิวให้คนไข้ดูว่าต้องการเสริมสะโพกแบบไหนให้เหมาะกับตัวเองมากที่สุด

เสริมสะโพกรีวิว

การเสริมสะโพกเหมาะกับใคร

  • ผู้ที่ต้องการมีสะโพก หรือก้นที่ใหญ่ขึ้น ไม่ต้องการใส่กางเกงเสริมก้น ชอบโชว์สะโพก
  • หุ่นไม่มี Curves ดูตรง ทื่อ
  • ลดน้ำหนักมากและเร็วเกินไป ผิวไม่กระชับ
  • ก้นหย่อน ยาน ตามวัย
  • สาวประเภทสองที่ต้องการ เปลี่ยนลุคเป็นผู้หญิง ต้องการสะโพก
  • ก้นเล็ก แฟ่บ ทำให้ใส่ชุดรัดรูปดูไม่มั่นใจ

การผ่าตัดเสริมสะโพกด้วยซิลิโคน

เป็นการใช้ซิลิโคนสำหรับบริเวณสะโพกโดยเฉพาะ ด้วยการวางซิลิโคนไประหว่างชั้นกล้ามเนื้อก้น (Gluteus maximus muscle) จะทำให้ก้นและสะโพกใหญ่ ได้ทรงสวยขึ้น กล้ามเนื้อบริเวณนี้ ต่างจากการวางซิลิโคนหน้าอกตรงที่มีกระดูกล้อมรอบสามด้าน ทำให้มีข้อจำกัดด้านขนาดซิลิโคนที่จะใส่ได้ ขนาดที่นิยม และเหมาะสมกับสรีระของคนไทย ส่วนใหญ่จะประมาณ 300 – 360 cc ในกรณีที่เสริมมากกว่านี้ มักต้องวางซิลิโคนเหนือชั้นกล้ามเนื้อซึ่งจะทำให้เกิดผลเสียในระยะยาว อย่างเช่นเนื้อซิลิโคนลอยแยกออกจากเนื้อก้น ทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติ

รูปทรงของซิลิโคน

ทรงกลม จะมีรูปร่างกลมและแบนเหมาะสำหรับเสริมบริเวณสะโพกด้านใน หรือ บริเวณก้น

ทรงหยดน้ำหรือทรงรี ตัวซิลิโคนจะมีรูปทรงวงรีเหมาะกับคนที่ต้องการเสริมด้านข้างของสะโพกโดยมีข้อดีคือ มีเมื่อเสริมแล้วจะได้ธรรมชาติ

เตรียมตัวก่อนการผ่าตัด

  • งดยาแอสไพริน บุหรี่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ กระเทียม หัวหอม น้ำมันปลา วิตามินอี และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองก่อนผ่าตัดประมาณ 2 สัปดาห์ เพราะอาหารพวกนี้มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด อาจทำให้เลือดออกมากระหว่างผ่าตัดได้
  • งดน้ำและอาหาร 6-8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
  • ถ้ามีโรคประจำตัวหรือแพ้ยา ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้า
  • เตรียมลางาน 10-15 วัน
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง ไม่ควรผ่าตัด
  • ถ้ามีบาดแผลบริเวณแขน ข้อศอก หัวเข่า หน้าอก หรือหน้าท้องควรงดผ่าตัดไปก่อน
  • การผ่าตัดเสริมสะโพกไม่ควรทำร่วมกับการผ่าตัดอื่น ๆ   บริเวณส่วนหน้าของร่างกาย เช่น การตัดไขมันหน้าท้องหรือการเสริมหน้าอก เพราะจะมีปัญหาในการดูแลหลังผ่าตัด ยกเว้นการดูดไขมันเล็กน้อยอาจทำร่วมกันได้

การผ่าตัดศัลยกรรมสะโพก มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

  • ดมยาสลบ และ ฉีดยาชาที่หลังเพื่อลดการเจ็บหลังผ่าตัด
  • ผ่าตัดในท่านอนคว่ำ
  • แผลผ่าตัดจะอยู่บริเวณร่องก้น มีแผลเดียว ประมาณ 4 -6 เซนติเมตร เพื่อซ่อนแผลให้เห็นน้อยที่สุด
  • วิธีเสริมสะโพกด้วยซิลิโคน จำเป็นต้องวางในกล้ามเนื้อทุกเคส เพราะหากใส่เหนือกล้ามเนื้อจะเห็นเป็นขอบ เป็นก้อนซิลิโคนแยกออกมาไม่เป็นธรรมชาติ และซิลิโคนจะขยับ ผิดตำแหน่งได้ง่าย เวลานั่งทับเป็นเวลานาน
  • จะมีสายระบายเลือด ทิ้งไว้ 2 วัน ก่อนเอาออก และกลับบ้านได้
  • เย็บด้วยไหมละลาย ไม่ต้องตัดไหม

ระยะเวลาในการผ่าตัดเสริมสะโพก

ใช้ระยะเวลาในการผ่าตัด ประมาณ 2-3 ชั่วโมง ภายใต้การดมยาสลบ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดได้หลังการ เสริมสะโพก

  • แผลเป็น
  • เลือดออก
  • บวม เขียวช้ำ
  • ปวด
  • ภาวะติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด หรือติดเชื้อรอบซิลิโคนเสริมสะโพก
  • สะโพกซ้ายขวา อาจจะไม่เท่ากันได้
  • ภาวะพังผืดและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขได้
  • ซิลิโคนเหลว แตกรั่วออกจากถุงซิลิโคน
  • แผลหายช้า
  • แผลแตก แผลแยก
  • ความเสี่ยงจากการดมยาสลบ

การดูแลหลังผ่าตัดศัลยกรรมสะโพก

  • นอนพักที่โรงพยาบาล หลังผ่าตัด 2 คืน เพื่อให้ยาฆ่าเชื้อ และเอาสายระบายเลือดออก ก่อนกลับบ้าน
  • ห้ามนอนหงาย หรือนั่งทับแผล 10 -14 วัน หลังผ่าตัด
  • สามารถนอนตะแคง หรือเดินได้ ตั้งแต่หลังผ่าตัดวันแรก
  • สามารถนั่งโถปัสสาวะ ขับถ่าย ได้ตามปกติ ตั้งแต่หลังผ่าตัด
  • แผลไม่ต้องทำความสะอาด เพราะแผลจะปิดด้วยกาวใส่แผลที่กันน้ำอยู่แล้ว สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ
  • แผลไม่ต้องตัดไหม เย็บด้วยไหมละลาย และทากาวสำหรับติดแผล (dermabond)
  • รับประทานอาหารที่สุกสะอาดได้ทุกอย่าง
  • ไม่ต้องนวดซิลิโคน เนื่องจากโอกาสเกิดพังผืดน้อยมาก
WordPress › ผิดพลาด

เกิดข้อผิดพลาดร้ายแรงบนเว็บไซต์นี้

Learn more about troubleshooting WordPress.