โรคแคนดิเดียสิส (Candidiasis, Moniliasis, Thrush)
เชื้อราแคนดิดา (Candida albicans) ปกติอาศัยอยู่ในทางเดินอาหาร เยื่อบุ และผิวหนังของมนุษย์ ส่วนใหญ่ไม่ทำให้เกิดโรค ยกเว้นในผู้ที่ร่างกายอ่อนแอ เช่น หญิงมีครรภ์ เด็กแรกเกิด ผู้ป่วยหลังผ่าตัดใหม่ ๆ ผู้ที่ขาดอาหาร เป็นมะเร็ง เบาหวาน โลหิตจาง โรคเอดส์ ได้รับยากดภูมิต้านทาน หรือได้รับยาปฏิชีวนะชนิดครอบจักรวาล
ลักษณะและอาการของโรคจะแตกต่างกันไปตามตำแหน่งที่เป็น
โรคแคนดิเดียสิสของเยื่อบุ
เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด ตำแหน่งที่พบได้แก่ ลิ้น เพดานปาก ในช่องคลอด คัน, มีหนองไหลออกมาพร้อมกลิ่นไม่พึงประสงค์ และรอบทวารหนัก ลักษณะจะเป็นแผ่นสีขาวนวล กระจัดกระจายอยู่ที่เยื่อบุ หลุดง่ายเมื่อเขี่ยออก เห็นหนังข้างใต้มีสีแดง ถ้าเป็นในช่องปากมักมีอาการเจ็บลิ้น เจ็บคอร่วมด้วย และอาจลามลึกลงไปในหลอดอาหาร ถ้าเป็นในช่องคลอดเริ่มแรกมักไม่เจ็บ ไม่คัน แต่จะมีน้ำเมือกไหลเป็นฝ้าขุ่น ๆ ต่อมาจึงเกิดอาการปวด แสบ ร้อน และคันในช่องคลอด อาจลุกลามไปบริเวณอวัยวะเพศด้านนอกและขาหนีบ ผิวหนังจะแดง มีน้ำเหลืองเยิ้ม ถ้าเป็นรอบรูทวารหนัก จะมีอาการคันมาก รอบ ๆ ทวารหนักจะแดงและเป็นฝ้าขาว
โรคแคนดิเดียสิสของผิวหนัง
มักเกิดขึ้นตามรอยพับของร่างกายที่เป็นที่อับชื้น เช่น รักแร้ ใต้ราวนม ขาหนีบ ซอกทวารหนัก ผื่นคันสะโพก ติดเชื้อ เรื้อนกวาง สะเก็ดเงิน สิว แผลหายช้า ติดเชื้อราใต้เล็บและใต้พับผิวหนังที่อับชื้น และรอยพับตามลำตัวและหน้าท้องในคนอ้วน ลักษณะเป็นผื่นแดง คัน ขอบชัด มีขุยบาง ๆ สีขาวคลุม ขึ้นกระจัดกระจายเหมือนดาวกระจาย (satellite lesions) ถ้าเป็นที่หนังศีรษะผมจะร่วง
บทความแนะนำ ดูดไขมันใต้รักแร้ จากเว็บไซต์ Rattinan.com
โรคแคนดิเดียสิสของเล็บ
ลักษณะเป็นการบวมแดงที่ขอบเล็บ เมื่อกดจะรู้สึกเจ็บ บางครั้งเมื่อกดจะมีหนองไหลออกมาจากใต้เล็บ ถ้าเป็นนาน ๆ เล็บจะกลายเป็นสีน้ำตาล ผิวเล็บไม่เรียบ จะเป็นคลื่น แต่ยังแข็ง เหนียว ไม่ยุ่ยเหมือนเชื้อราชนิดอื่น ๆ เนื่องจากเชื้อราแคนดิดาไม่มีเอ็นไซม์ไปย่อยเล็บ หนังที่โคนเล็บจะแยกออกจากโคนเล็บ ถ้าใช้เข็มแยงจะมีหนองไหลออกจากรอยแยก ถ้าเป็นที่ปลายเล็บ ตัวเล็บจะเผยอจากพื้นเล็บ ในลักษณะค่อย ๆ เซาะลึกเข้าไปจนถึงโคนเล็บ และในที่สุดทั้งแผ่นเล็บจะหลุดออก
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อภาวะเชื้อราในช่องคลอด
การอักเสบในช่องคลอดจากเชื้อราพบได้น้อยในเด็กหญิงก่อนวัยมีประจำเดือน และสตรีวัยหมดประจำเดือน ภาวะนี้พบได้มากในสตรีตั้งครรภ์และสตรีที่อยู่ในภูมิประเทศที่อากาศร้อนและมีความชื้นสูง ผู้ที่ได้รับยาปฏิชีวนะต่อเนื่องเป็นเวลานาน นอกจากนี้ยังพบบ่อยในผู้ที่มีการทำหน้าที่ของ T-cell เสื่อมลง ได้แก่ โรคเบาหวานที่คุมได้ไม่ดี ผู้ที่ต้องรับยาสเตียรอยด์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่พบได้บ่อย คือ การรับประทานอาหารรสหวาน มากเกินไป
อาการและอาการแสดงของภาวะเชื้อราในช่องคลอด
อาการแสดงที่เด่นชัดที่สุด คือ อาการคัน ซึ่งมักจะคันค่อนข้างมาก อาการมักจะดีขึ้นเมื่อมีประจำเดือน เชื่อว่าเกิดจากความเป็นด่างของเลือดประจำเดือน โดยอาการคันจะครอบคลุมบริเวณฝีเย็บด้วย หากคันเฉพาะบริเวณแคมใหญ่ควรคิดถึงการติดเชื้อราที่ผิวหนัง หากคันทั้งที่ในช่องคลอดและฝีเย็บอาจเกิดจากเชื้อ T.vaginalis, Human papilloma virus ซึ่งควรเข้ารับการตรวจแยกโรคที่ สถานพยาบาล อาการเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์หรือแสบเมื่อปัสสาวะโดนบริเวณอักเสบก็สามารถพบได้บ่อย สำหรับอาการตกขาวจะไม่ชัดเจนในบางรายโดยหากมีตกขาวผู้ป่วยมักจะมีอาการคันนำมาก่อน
การรักษาและป้องกัน
การจำกัดปริมาณกลูโคสนับเป็นขั้นตอนแรก อาหารที่ให้กลูโคสก็ได้แก่น้ำตาล เช่น น้ำตาลทั่วไป น้ำผึ้ง สารให้ความหวานทดแทน และฟรุคโตสจากผลไม้ คาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี ทั้งขนมปังขาว, ขนมอบ, พาสต้าแป้งขาวและข้าว ล้วนมีค่าดัชนีกลัยซีมิค (glycemic index-GI) สูง กลูโคสในนั้นถูกดูดซึมอย่างรวดเร็ว
ให้ระวังน้ำตาลที่ซ่อนอยู่ในอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิต โดยเฉพาะในซอสต่าง ๆ พวกนี้บางทีอยู่ในส่วนผสมที่ลงท้ายด้วย “-ol” เช่น mannitol และ sorbitol หรือลงท้ายด้วย “-ose” เช่น dextrose, maltose และ sucrose ให้รับประทานอาหารสดที่มีประโยชน์ที่มีค่า GI ต่ำ และทำอาหารด้วยตัวเอง