การผ่าตัดเสริมสะโพก เป็นการปรับสรีระรูปร่างให้เห็นส่วนโค้ง ส่วนเว้าของเอว สะโพก และต้นขา เด่นชัดขึ้น ช่วยทำให้มีสัดส่วนของเอว สะโพก ต้นขา สวยสมดุล และการเสริมสะโพก เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับบั้นท้าย เช่น ไม่มีก้น หรือหย่อนคล้อย ผลลัพธ์ที่ได้นอกจากจะทำให้สะโพกดูผายได้รูปทรงที่สวยงามแล้ว ยังช่วยยกกระชับส่วนที่หย่อนคล้อยให้เต่งตึงขึ้นด้วย ทำให้ใส่กระโปรง กางเกง หรือชุดเดรสแบบเข้ารูปได้สวย เห็นสัดส่วนโค้งเว้าที่ชวนมอง เพิ่มความมั่นใจได้ ส่งผลให้บุคลิกภาพดีขึ้นด้วย
การเสริมสะโพกเหมาะกับใคร
- ผู้ที่มีก้นเล็กตั้งแต่กำเนิด ลีบ แฟ่บ เหมือนผู้ชาย ต้องการใส่กางเกงรัดรูป กางเกงยีน หรือบิกินี่ให้ดูเข้ารูปมากขึ้น
- ผู้ที่รูปร่างทื่อ และเคยเสริมหน้าอกแล้ว ถ้าเสริมก้นไปอีก จะทำให้ดูมีสัดส่วนและดูเซ็กซี่มากขึ้น
- ลดน้ำหนักมากเกินไป ทำให้ก้นเหี่ยว ก้นแฟ่บ มีการยกกระชับ อาจต้องเสริมก้นเพิ่มด้วย
- แก้ปัญหาบั้นท้ายหย่อนยานตามวัย ต้องการเสริมให้ดูเต่งตึงขึ้น
- สาวประเภทสอง ซึ่งปกติผู้ชายไม่มีสะโพก การเสริมสะโพกจึงเป็นตัวเลือกที่ดี ให้มีทรวดทรงองเอวคล้ายผู้หญิงมากขึ้น
- กลุ่มผู้หญิงที่สามีเป็นคนต่างชาติ และนิยมสะโพกใหญ่
- เบื่อไม่ต้องการใส่กางเกงในเสริมก้น อยากใส่กางเกงรัดรูป โชว์สะโพกได้อย่างมั่นใจ
การเสริมสะโพกสามารถทำได้ 3 วิธี
1. ผ่าตัดเสริมสะโพกด้วยการใช้ถุงซิลิโคน (Buttock Implants)
การผ่าตัดเสริมสะโพกด้วยถุงซิลิโคน เป็นวิธีการแรก ๆ ที่ใช้ในการศัลยกรรมเสริมสะโพก ศัลยแพทย์จะเปิดแผลบริเวณร่องก้นและใส่ถุงซิลิโคนเข้าไป เป็นวิธีที่แพทย์มักจะแนะนำเพราะปลอดภัยและได้ผลดีที่สุด วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีไขมันสะโพกน้อย
ข้อดี
- สามารถผ่าตัดได้ทันทีแม้ไม่มีไขมัน
- สามารถกำหนดขนาดที่ต้องการได้
- เมื่อต้องการเอาออกสามารถเอาออกได้ทั้งถุงซิลิโคน
- การเสริมซิลิโคนสามารถแก้ปัญหาก้นห้อยได้
แต่อาจพักฟื้นนานกว่าเนื่องจากเป็นวัสดุทำขึ้นมาเพื่อใช้ในทางการแพทย์ ร่างกายอาจจะไม่ยอมรับได้
2. ผ่าตัดเสริมสะโพกด้วยการฉีดไขมัน (Fat Graft)
การเสริมสะโพกด้วยการฉีดไขมัน หรือเรียกอีกอย่างว่า Brazilian Butt Lift เป็นการเสริมสะโพกอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน ศัลยแพทย์จะทำการดูดไขมันส่วนเกินจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น หน้าท้อง เอว หรือต้นขา จากนั้นศัลยแพทย์จะฉีดไขมันเข้าไปที่สะโพก เพื่อเสริมสะโพกให้มีขนาดที่สวยงามมากยิ่งขึ้น การเสริมสะโพกด้วยวิธีนี้บางครั้งอาจทำพร้อมกับการเสริมด้วยถุงซิลิโคน ในการปรับรูปทรงสะโพกให้ ผาย กลมกลึง กระชับสวยงาม ด้วยการฉีดไขมัน
ข้อดี
- เป็นไขมันของตัวเอง
ข้อจำกัดไขมันที่ฉีดเข้าไปบางส่วนจะสลายไป ขนาดของก้นหลังผ่าตัดใหม่ ๆ กับหลังผ่าตัด 6 เดือนจะต่างกันมาก ละก้นสองข้างอาจจะไม่เท่ากัน
3. ผ่าตัดเสริมสะโพกด้วยการใช้ถุงซิลิโคน ร่วมกับ การผ่าตัดยกกระชับ (Buttock Implants and lift)
การยกกระชับสะโพก เป็นการยกกระชับสะโพกที่หย่อนคล้อยให้กลับมาเด้งเต่งตึงอีกครั้ง โดยการผ่าตัดนำผิวหนังส่วนที่หย่อนคล้อยบริเวณสะโพกออก จะมีแผลซ่อนอยู่ที่ขอบบิกินี่ไลน์ด้านหลัง
ข้อดี
- สามารถผ่าตัดได้ทันทีแม้ไม่มีไขมัน
- สามารถกำหนดขนาดที่ต้องการได้
- เมื่อต้องการเอาออกสามารถเอาออกได้ทั้งถุงซิลิโคน
- การเสริมซิลิโคนสามารถแก้ปัญหาก้นห้อยในกรณีที่ก้นห้อยและมีหนังเหลือเยอะมาก เทคนิคนี้สามารถปรับรูปร่างของสะโพกและลำตัวได้
รูปทรงของถุงซิลิโคน
ทรงกลม
มีรูปร่างกลมแต่จะแบนกว่าถุงซิลิโคนที่ใช้เสริมเต้านม ใช้สำหรับเสริมสะโพกด้านใน ทรงกลมใส่ง่ายกว่าทรงวงรีและไม่มีโอกาสเคลื่อนตัว หมุนอย่างไรก็ไม่เป็นไร ช่วยให้วางตำแหน่งได้ง่าย
ถุงทรงวงรีหรือทรงหยดน้ำ
เหมาะสำหรับเน้นบางจุดเพราะสามารถหมุนได้ทุกทิศทาง ถ้าคนไข้ต้องการเสริมสะโพกเฉพาะด้านนอก ไม่ต้องการเน้นด้านใน กรณีนี้ต้องใช้ทรงหยดน้ำ เพราะมีให้เลือกทั้งขั้วเล็ก ขั้วใหญ่ ในขณะที่ทรงกลมไม่มีขั้ว ทุกด้านเท่ากันหมด จึงมีจุดเด่นตรงที่สามารถเน้นตำแหน่งที่ต้องการได้
เตรียมตัวก่อนการผ่าตัด
- งดยาแอสไพริน บุหรี่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ กระเทียม หัวหอม น้ำมันปลา วิตามินอี และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองก่อนผ่าตัดประมาณ 2 สัปดาห์ เพราะอาหารพวกนี้มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด อาจทำให้เลือดออกมากระหว่างผ่าตัดได้
- งดน้ำและอาหาร 6-8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
- ถ้ามีโรคประจำตัวหรือแพ้ยา ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้า
- เตรียมลางาน 10-15 วัน
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง ไม่ควรผ่าตัด
- ถ้ามีบาดแผลบริเวณแขน ข้อศอก หัวเข่า หน้าอก หรือหน้าท้องควรงดผ่าตัดไปก่อน
- การผ่าตัดเสริมสะโพกไม่ควรทำร่วมกับการผ่าตัดอื่น ๆ บริเวณส่วนหน้าของร่างกาย เช่น การตัดไขมันหน้าท้องหรือการเสริมหน้าอก เพราะจะมีปัญหาในการดูแลหลังผ่าตัด ยกเว้นการดูดไขมันเล็กน้อยอาจทำร่วมกันได้
การดูแลหลังผ่าตัด
- การผ่าตัดเสริมก้น คนไข้ต้องนอนพักในโรงพยาบาลประมาณ 2 คืน เพื่อใส่ท่อระบายเลือดและสังเกตอาการโดยรวม
- สัปดาห์แรกควรพักผ่อนมาก ๆ แต่ไม่จำเป็นต้องนอนบนเตียงตลอดเวลา โดยทั่วไป ในวันที่ 4 สามารถเดินหรือนั่งอย่างช้า ๆ โดยอาจรู้สึกเจ็บปวดอยู่บ้าง
- นอนคว่ำในสัปดาห์แรกหลังผ่าตัด ห้ามนอนหงายเพราะจะเป็นการกดทับถุงซิลิโคน
- หลังจากเปิดแผล ควรทำความสะอาดแผลทุกวันจนถึงวันตัดไหม
- เปิดผ้าพันแผลวันที่ 2 หรือ 3
- สัปดาห์ที่สองสามารถนั่งบนเบาะนิ่ม ๆ ได้
- หลังผ่าตัดประมาณ 10 วัน จึงจะสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
- อาการปวดบริเวณสะโพกอาจเกิดขึ้นได้ใน 1 – 3 เดือนแรก
- จะไม่รู้สึกมีสิ่งแปลกปลอมที่สะโพกภายใน 6 – 8 เดือน
- ใส่กางเกงรัดไว้เป็นเวลา 1 สัปดาห์ กางเกงนี้เปรียบเสมือนตัวควบคุมตำแหน่งซิลิโคนไม่ให้เคลื่อนที่