อาการปวดสะโพก เกิดจากอะไร

อาการปวดสะโพก คือปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะหากมีการทำกิจกรรมหรือการใช้งานบริเวณสะโพกหรือช่วงขา อาจก่อให้เกิดความอ่อนเพลีย เกิดอาการตึง หรืออักเสบที่บริเวณกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อสะโพก ซึ่งจะทำให้รู้สึกปวดสะโพกได้

อาการปวดสะโพก

อาการปวดสะโพกเกิดจากสาเหตุใด

  • อาการปวดสะโพกสามารถเกิดจากอาการทางสุขภาพต่าง ๆ ดังนี้
  • โรคที่เกี่ยวกับไขข้อหรือโรคข้ออักเสบชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุมักจะพบโรคดังกล่าวได้ง่าย อาการเกี่ยวกับไขข้อจะส่งผลให้เกิดการอักเสบที่บริเวณข้อต่อและกระดูกอ่อนของสะโพก จึงทำให้รู้สึกเจ็บปวดที่สะโพก
  • กระดูกสะโพกหัก เมื่ออายุมากขึ้นกระดูกก็จะเริ่มอ่อนแอลง ทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะกระดูกเปราะ แตก หรือหักได้ ซึ่งถ้าหากเกิดอาการกระดูกสะโพกแตกหรือร้าว ก็จะส่งผลทำให้มีความรู้สึกปวดสะโพก
  • อาการบวมอักเสบของข้อต่อ บริเวณข้อต่อของคนเราจะมีถุงเบอร์ซา (bursa) เล็ก ๆ ทำหน้าที่ในการหล่อลื่นและลดแรงเสียดทานของเนื้อเยื่อบริเวณข้อต่อ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ถุงเบอร์ซานี้มีการอักเสบขึ้น ก็จะส่งผลทำให้เกิด อาการปวดสะโพก
  • เอ็นอักเสบ เส้นเอ็นเป็นแถบเนื้อเยื่อที่มีความหนา ทำหน้าที่สำคัญในการยึดกระดูกกับกล้ามเนื้อไว้ด้วยกัน แต่ว่าเมื่อเอ็นเกิดอาการตึงหรืออักเสบ ก็จะสร้างความเจ็บปวดที่บริเวณนั้น ๆ ได้
  • อาการตึงของกล้ามเนื้อแล้วก็เส้นเอ็น กิจกรรมบางอย่างอาจมีการใช้งานหรือเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อกับเส้นเอ็นที่รองรับสะโพกมากจนกระทั่งก่อให้เกิดอาการตึงที่บริเวณเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ ซึ่งหากว่าเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อตึงมากจนเกิดเป็นอาการอักเสบ ก็จะส่งผลนำไปสู่อาการปวดที่สะโพกได้
  • อาการสะโพกฉีก การฉีกขาดของกระดูกอ่อนที่มีลักษณะเป็นวง หรือที่เรียกว่า ลาบรัม (labrum) ที่บริเวณของข้อต่อสะโพก จะมีผลให้เกิดอาการปวดที่สะโพก เนื่องจากการใช้งานกล้ามเนื้อบริเวณข้อต่อของสะโพกมากเกินไปจนถึงเกิดอาการฉีกขาดของกระดูกอ่อน
  • โรคมะเร็ง แม้จะพบได้ไม่บ่อยนัก แต่โรคมะเร็งก็สามารถเป็นเหตุให้เกิดอาการปวดสะโพกได้ โดยส่วนมากมักเกิดขึ้นจากการที่มีเนื้องอกในกระดูก
  • ภาวะหัวกระดูกข้อสะโพกตายจากการขาดเลือด (Avascular necrosis) ถ้าเลือดไหลลงไปที่กระดูกสะโพกช้าจะส่งผลทำให้เนื้อเยื่อบริเวณข้อต่อสะโพกตาย และทำให้เกิดผลกระทบต่อข้อต่อส่วนอื่น ๆ ด้วย

อาการปวดสะโพกอันตรายหรือเปล่า

หากอาการปวดสะโพกเป็นอาการที่เกิดจากการทำงานหนัก หรือเกิดจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้สะโพกเกิดการอักเสบ แต่อาการเหล่านี้สามารถรักษาเองได้ที่บ้านโดยอาการเหล่านี้หากรักษาอย่างถูกวิธีก็สามารถรักษาให้หายได้ แต่สำหรับการปวดสะโพกที่เกิดจากโรคทางสุขภาพจะไม่สามารถรักษาได้ด้วยตัวเองจะต้องรักษาด้วยหมอเฉพาะทางเท่านั้น เพราะหมอจะได้วิเคราะห์และหาสาเหตุในการรักษาได้ถูกต้องแม่นยำ และการรักษาจะต้องรักษากับหมอเฉพาะทางเท่านั้น

วิธีการรักษาอาการปวดสะโพกด้วยตัวเอง

  • ถ้าหากมีอาการปวดสะโพก ให้พยายามลดการเคลื่อนไหวที่จะทำให้เกิดการงอ หรือเกิดแรงกดทับที่สะโพก พยายามนอนตะแคง หรือหลีกเลี่ยงการนั่งอยู่ที่เดิมนาน ๆ
  • ยาบรรเทาอาการปวดบางประเภท สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดให้ดีขึ้นตามลำดับได้ อาทิเช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) อะเซตามีโนเฟน (Acetaminophen)
  • การประคบร้อนหรือการประคบเย็น การประคบสะโพกในบริเวณที่มีอาการปวดด้วยน้ำแข็ง น้ำเย็น การอาบหรือการแช่น้ำอุ่นสามารถช่วยคลายกล้ามเนื้อ มีส่วนช่วยบรรเทา อาการปวดสะโพก ได้

มีอาการปวดสะโพกขนาดไหนถึงไปพบหมอ

หากมีอาการปวดสะโพกและรักษาด้วยตนเองแล้วยังไม่หาย และอาการเริ่มเป็นหนักขึ้นก็ต้องไปพบหมอเพื่อทำการรักษาและอาการที่ควรไปพบหมอมีดังนี้

  • ข้อต่อผิดรูป
  • ไม่สามารถขยับขาหรือสะโพกข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างได้
  • ขาไม่สามารถรับน้ำหนักได้
  • มีอาการปวดอย่างรุนแรง
  • เกิดอาการบวมชนิดเฉียบพลัน
  • มีสัญญาณที่อาจหมายถึงการติดเชื้อ เช่น บวมแดง มีไข้ หนาวสั่น เป็นต้น

อาการปวดสะโพก เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังประสบกับปัญหานี้อยู่ หากรักษาด้วยตัวเองแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นให้รีบไปปรึกษาหมอเพื่อให้หมอวินิจฉัยและหาวิธีรักษาให้ตรงจุด เพื่อให้คุณไม่ต้องมาทรมานกับการปวดสะโพกอีกต่อไป หากเป็นไม่มากหมอก็จะให้ยามาทาน และให้บริหารร่างกายตามความเหมาะสมของอาการ หากอาการรุนแรงหมอก็จะทำการผ่าตัดเพื่อให้คุณหายปวดและสามารถใช้ชีวิตประจำวันแบบเดิมได้อย่างปกติค่ะ

WordPress › ผิดพลาด

เกิดข้อผิดพลาดร้ายแรงบนเว็บไซต์นี้

Learn more about troubleshooting WordPress.