หลายคนกำลังเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อสะโพก ทำให้มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก หากมีอาการดังกล่าวควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้ความรุนแรงเพิ่มขึ้นได้ หรือควรศึกษาหาข้อมูล เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาต่อไป
สาเหตุของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
โดยปกติ กลุ่มอาการนี้มักเกิดจากการอักเสบ การบาดเจ็บ การเกิดแผลเป็น หรือภาวะเลือดออกที่กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส อันเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้
- เคลื่อนไหวร่างกายส่วนล่างผิดท่า
- ออกกำลังกายมากเกินไป
- วิ่งหรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวขาอย่างต่อเนื่อง
- นั่งเป็นเวลานาน
- ยกของหนัก
- เกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายส่วนล่าง เช่น ลื่นล้ม ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ เป็นต้น
อาการของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
พิริฟอร์มิส คือ กล้ามเนื้อที่อยู่ภายในก้นใกล้กับสะโพก มีหน้าที่รักษาสมดุลของสะโพกและช่วยให้ต้นขาเคลื่อนไหวไปยังทิศทางต่าง ๆ ได้ จึงจำเป็นต่อการรักษาสมดุลของร่างกายและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องใช้ลำตัวส่วนล่าง หากกล้ามกล้ามเนื้อชนิดนี้ไปกดทับเส้นประสาทไซอาติก ซึ่งเป็นเส้นประสาทขนาดใหญ่ที่พาดผ่านขาทั้ง 2 ข้าง อาจส่งผลให้เกิดอาการ ดังต่อไปนี้ปวดและชาที่ก้นร้าวไปยังขาทั้ง 2 ข้าง รู้สึกเจ็บเมื่อใช้มือกดบริเวณก้น ปวดหลังช่วงล่าง
บทความแนะนำ ตัดหนังหน้าท้อง จากเว็บไซต์ Rattinan.com
การรักษา
- Stretching
เริ่มจากการยืดเหยียดกล้ามเนื้อสะโพกมัดลึก piriformisโดยการยืดเหยียดจะต้องยืดให้สุดความยาวกล้ามเนื้อและถูกท่า การยืดทุกครั้งจะต้องยืดให้สุดและค้างไว้นับ1-10 จากนั้นกลับมาท่าเดิมทำซ้ำครบ10ครั้ง แล้วจึงสลับไปยืดอีกข้าง ทำเช้าเย็น และระหว่างวันตามเหมาะสม
- Ice and hot compression
การประคบร้อนหรือประคบเย็นเพื่อลดปวด
ประคบเย็นในกรณีเกิดการบาดเจ็บเช่น เจ็บกล้ามเนื้อก้นหรือสะโพกหลังออกกำลังกายหรือจากอุบัติเหตุ ภายใน24 ชม.
ประคบร้อนเพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตและผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณนั้น กล้ามเนื้อpiriformis เป็นกล้ามเนื้อมัดลึกและบริเวณก้นก็มีชั้นไขมันและกล้ามเนื้อGluteus maximus ปกคลุม ดังนั้นความร้อนจากการประคบร้อนไม่สามารถเข้าถึงได้หรือเข้าถึงได้น้อย
- Meet doctor
ในกรณีที่การรักษาเบื้องต้นไม่ดีขึ้นแนะนำพบแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูหรือนักกายภาพ เพื่อการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง
- Diagnosis and plan of treatment
การรักษาด้วยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู. การใช้เทคนิคการปักเข็ม (Dry needling or weatern acupunctue) หรือการฉีดยาลดการอักเสบ(low dose steroid injection) การฉีดยาแก้อักเสบกล้ามเนื้อ(NSAIDs) หรือเทคนิคอื่น ๆ
- Physical modality
การรักษาด้วยเครื่องมือทางกายภาพ ได้แก่ high intensity laser therapy , Shockwave therapy or TR therapy etc.
- Therapeutic massage or deep tissue massage
การนวดด้วยเทคนิคเฉพาะด้วยผู้ชำนาญการ พยาบาล นักกายภาพ
- Correct posture
ปรับท่าทางที่ทำให้เกิดอาการหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น มักมีอาการเวลาขับรถ แนะนำให้ปรับตำแหน่งเบาะรถอาจจะเป็นความสูงเบาะหรือความใกล้ไกลของเบาะ. มาจากการนั่งทำงานเก้าอี้ที่ไม่เหมาะสม บางครั้งมาจากรองเท้าที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อ
- Trigger point compression or massage by yourself
การกดจุดหรือยืดกล้ามเนื้อด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆเช่น tennis ball or foam roller
- Muscle strengthening
บริหารกล้ามเนื้อรอบสะโพก ต้นขาและกล้ามเนื้อหน้าท้องมัดลึก
- Cause
หาสาเหตุที่แท้จริง ข้อนี้สำคัญที่สุดและถ้าทำได้แก้ต้นเหตุได้จะสามารถรักษาหายอย่างแท้จริง
ภาวะแทรกซ้อนของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
โดยปกติ อาการปวดที่เกิดขึ้นจะค่อย ๆ หายไปได้เองโดยไม่ต้องเข้ารับการรักษา แต่ก็มีความเสี่ยงที่กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสจะกดทับเส้นประสาทไซอาติกและสร้างความเสียหายแก่เส้นประสาทอย่างถาวรได้ ดังนั้น หากมีอาการรุนแรงดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
- ขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างสูญเสียความรู้สึกหรือไม่มีแรง
- ไม่สามารถควบคุมการถ่ายปัสสาวะของตัวเองได้
- การป้องกันกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
แม้สาเหตุหนึ่งของ Piriformis Syndrome คือ การออกกำลังกายผิดวิธี แต่ในทางตรงกันข้าม การออกกำลังกายด้วยท่าทางที่ถูกต้องในระยะเวลาที่เหมาะสมอาจส่งผลดีต่อร่างกายและช่วยป้องกันกลุ่มอาการนี้ได้เช่นกัน ซึ่งอาจทำได้ ดังนี้
- อบอุ่นร่างกายและยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง
- เพิ่มระดับการออกกำลังกายเพียงทีละน้อย
- หลีกเลี่ยงการวิ่งบนทางลาดชันหรือพื้นผิวที่ขรุขระ
- หลีกเลี่ยงการนั่งหรือนอนในท่าเดิมเป็นเวลานาน
ผู้ที่เคยเป็น Piriformis Syndrome มาก่อน ควรออกกำลังกายหรือยืดกล้ามเนื้อตามที่แพทย์แนะนำเป็นประจำ เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ