เสริมสะโพกภาษาอังกฤษ ( Hip enhancement ) คือการเสริมซิลิโคนเข้าไปทำให้สะโพกมีส่วนเว้า ส่วนโค้งและได้สัดส่วนเข้ากับรูปร่างให้ดูสวยงาม และสาว ๆ ที่มีปัญหาสะโพกแบนไม่ได้สัดส่วนจึงหันมาเสริมสะโพกกันมากขึ้น เพราะเมื่อเสริมสะโพกมาแล้วสาว ๆ สามารถสวมใส่เสื้อผ้าชุดไหนก็ดูดี ดูสวย จึงทำให้สาว ๆ มั่นใจมากขึ้น
เสริมสะโพกเหมาะกับใคร
- ก้นเล็กตั้งแต่เกิด ลีบ แฟ่บ ต้องการใส่กางเกงรัดรูป หรือบิกินี่ให้ดูเข้ารูปมากขึ้น
- คนที่เคยเสริมหน้าอกแล้ว หากเสริมสะโพกไปอีก จะทำให้ดูมีรูปทรงและดูเซ็กซี่มากยิ่งขึ้น
- คนที่ลดความอ้วนมากเกินไป มีการยกกระชับ อาจต้องเสริมสะโพกเพิ่มด้วย
- คนที่มีปัญหาบั้นท้ายหย่อนยานตามวัย ต้องการเสริมให้ดูเต่งตึงขึ้น
- คนที่ไม่ต้องการใส่กางเกงในเสริมสะโพก ต้องการใส่กางเกงรัดรูป โชว์บั้นท้ายได้อย่างมั่นใจ
การเสริมด้วยซิลิโคน
ซิลิโคนที่ใช้ในการเสริมความงามทุกอย่างควรเป็นซิลิโคนที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพสูง มีการผลิตมาเพื่อใช้สำหรับเสริมสะโพกโดยเฉพาะ จึงจะมีความแข็งแรงและเหนียวทนเป็นอย่างมาก สามารถทนต่อการกดทับและการกระแทกได้อย่างดีเยี่ยม มีความตึงตัวสูง ไม่ทำให้เสียรูปและไม่เป็นอันตราย โดยจะสามารถเลือกขนาดที่เหมาะสมหรือพอดีกับสะโพกของเราได้ ซิลิโคนสำหรับเสริมสะโพกมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ
ซิลิโคนแบบถุง
จะมีลักษณะเป็นถุง ภายในบรรจุซิลิโคนเจลไว้เช่นเดียวกับถุงซิลิโคนที่ใช้สำหรับเสริมหน้าอก แต่ว่าจะมีรายละเอียดที่ไม่เหมือนกัน ตรงที่ถุงซิลิโคนสำหรับใช้เสริมสะโพกนั้น จะบรรจุแต่เพียงซิลิโคนเจลเท่านั้น (ซิลิโคนเสริมเต้านมจะมีเป็นแบบน้ำเกลือด้วย) เนื่องจากการเสริมสะโพกเป็นการใส่ถุงในกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอด ทำให้มีแรงกดที่มากกว่าการเสริมบริเวณเต้านม จึงมีโอกาสที่จะมีปัญหาของการรั่วซึมได้มากกว่า โดยซิลิโคนแบบถุงเสริมสะโพกจะมีลักษณะที่แบนและกว้างกว่าซิลิโคนเสริมเต้านม
ซิลิโคนแบบแผ่น
เป็นซิลิโคนแท่งที่ทำสำหรับการเสริมสะโพกโดยเฉพาะ โดยมีลักษณะเช่นเดียวกับซิลิโคนแท่งแบบการเสริมจมูก แต่ว่ามีลักษณะเป็นแผ่นใหญ่กว่า และมีรูปร่างที่โงงอได้ตามรูปแบบของสะโพก ข้อดีของการเสริมสะโพกแบบซิลิโคน คือ มีความเป็นธรรมชาติและคงรูปในแบบถาวร แต่ข้อเสียคือ คนไข้จะมีอาการบอบช้ำและรู้สึกเจ็บหลังผ่าตัดเล็กน้อย จะต้องใช้ระยะเวลาสำหรับการพักฟื้น
ตำแหน่งการวางถุงซิลิโคน
บริเวณใต้ผิวหนัง
เป็นการวางถุงซิลิโคนไว้เหนือกล้ามเนื้อ ไม่แนะนำให้ทำ เพราะว่าซิลิโคนมักจะเคลื่อนที่ง่าย ตามการเคลื่อนไหวของร่างกาย และบางทีอาจเห็นรูปร่างของถุงซิลิโคนชัดเจนหลังจากยุบบวมแล้วและมีโอกาสเกิดการทะลุของถุงซิลิโคนในคนไข้บางรายได้
บริเวณใต้กล้ามเนื้อ
เป็นวิธีที่ได้มาตรฐานที่สุดในปัจจุบัน โดยจะขึ้นอยู่กับกล้ามเนื้อของกล้ามเนื้อสะโพกมัดบนและมัดล่างบางทีอาจไม่สามารถแบ่งออกได้ชัดเจน โดยเหตุนี้การใส่ถุงซิลิโคนระหว่างกล้ามเนื้อสะโพกทั้งสองมัด สามารถทำได้ในคนไข้บางรายเท่านั้น การจะเปิดช่องระหว่างกล้ามเนื้อสะโพก 2 มัด และการใส่ถุงใต้กล้ามเนื้อสะโพกมัดใหญ่มักได้ผลเช่นเดียวกับการเปิดโพรงใต้กล้ามเนื้อ
บริเวณใต้พังผืดกล้ามเนื้อ
เนื่องจากการเสริมตรงบริเวณใต้ผิวหนัง ก็ยังมีความเสี่ยงในเรื่องการทะลุตัวของตัวซิลิโคนเอง และการเสริมตรงบริเวณใต้กล้ามเนื้อในบางครั้ง ก็ยังส่งผลให้รูปร่างของสะโพกยังไม่ชัดเจนพอ หมอลองใช้วิธีเสริมสะโพกโดยการเปิดช่องใต้พังผืดกล้ามเนื้อดูบ้าง โดยจุดเด่นของตำแหน่งนี้ คือ ไม่เสี่ยงต่อการกระทบโดนเส้นประสาทใหญ่ และยังสามารถเห็นรูปร่างของสะโพกได้ชัดเจนด้วย แต่การผ่าตัดบางทีอาจไม่สามารถเปิดช่องนี้ได้ง่าย ปัจจุบันวิธีนี้จึงยังไม่มีขั้นตอนที่เป็นมาตรฐาน
ขั้นตอนการผ่าตัดเสริมสะโพก
- การผ่าตัดภายใต้การดมยาสลบ ใช้เวลาประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง โดยหมอจะทำ การผ่าตัดเปิดแผลบริเวณร่องสะโพก เป็นแนวตั้งบริเวณกระดูกก้นกบ ยาวประมาณ 2 – 3 นิ้ว จุดเด่น ของการผ่าบริเวณนี้ก็คือ ทำให้ไม่เกิดแผลเป็นที่สังเกตได้ และเป็นการผ่าเปิดแผลเพียงแผลเดียว โดยสามารถใส่ถุงซิลิโคนเข้าได้ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา สำหรับขนาดของถุงซิลิโคนนั้น หมอจะเป็นผู้ประเมินให้เหมาะสมกับคนไข้
- จากนั้นศัลยแพทย์จะสร้างช่องว่างสำหรับใส่ถุงซิลิโคน โดยยกส่วนของชั้นกล้ามเนื้อขึ้น เพื่อให้เกิดเป็นช่องสำหรับวางซิลิโคน ซึ่งถุงซิลิโคนจะถูกวางไว้ใต้ชั้นกล้ามเนื้อแก้มก้น ระหว่างกล้ามเนื้อส่วนนอกและส่วนกลาง ซึ่งเป็นเทคนิคใหม่ที่ช่วย ลดปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของถุงซิลิโคน และก็การเกิดพังผืดด้วย อีกทั้งช่วยเสริมความแข็งแรงของถุงซิลิโคนที่ใส่เข้าไป
- ระหว่างการผ่าตัดหมอจะดูสัดส่วนที่เท่ากันของสะโพกทั้ง 2 ข้างให้เป็นธรรมชาติที่สุด บางครั้งหมออาจจะทำการ ดูดไขมันส่วนเกิน บริเวณนั้นออกให้ด้วย เพื่อให้ได้รูปทรงของสะโพกที่สวยเหมาะสม จากนั้นทำการเย็บปิดบาดแผล
การดูแลตัวเองหลังการผ่าตัดเสริมสะโพก
- หลังผ่าตัดจะมีอาการเจ็บเล็กน้อย แต่ต้องการการดูแลอย่างมาก โดยคนไข้จะต้องนอนคว่ำ โดยที่ ไม่นั่งทับซิลิโคนในช่วง 3 – 5 วัน เพื่อไม่ให้ซิลิโคนเคลื่อนผิดที่ และป้องกันไม่ให้แผลแยกด้วย และจะช่วยทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น
- สามารถทำความสะอาดแผลได้ปกติ โดยใช้สำลีชุบน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือ เช็ดทำความสะอาดและซับให้แห้ง ในช่วงเวลาเช้าและเย็นของทุกวัน
- แผลผ่าตัดจะใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์ ถึงจะติดสนิท โดยหมอจะนัดมาตรวจแผล และตัดไหมที่ร่องก้นให้
- คนไข้สามารถนั่งและนอนได้ตามปกติ หลังผ่าตัดประมาณ 2 – 4 อาทิตย์
- หลังผ่าตัดควรจะ หลีกเลี่ยงการฉีดยาบริเวณสะโพกหรือก้น